Tag Archives: แต่ปางก่อน

แต่ปางก่อน

หม่อมเจ้ารังสิธร หรือคุณใหญ่ บุตรชายคนเดียวของ เสด็จในกรมฯ ในรัชสมัย ร.6 ได้พบรักกับ เจ้านางม่านแก้ว ที่ได้เข้ามาฝากเนื้อฝากตัวที่วังของเสด็จฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียน หม่อมพเยีย มารดาของคุณใหญ่คัดค้านเต็มที่ เนื่องด้วยริษยาที่ม่านแก้วเป็นคนโปรดของเสด็จฯ และมีความสามารถทางภาษาหลายด้าน และที่สำคัญได้หมายมาดให้คุณใหญ่ได้สมรสกับ ท่านหญิงวิไลเรขา ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติผู้น้อง แต่คุณใหญ่ก็ยังยืนยันที่จะแต่งงานกับม่านแก้ว

ในคืนวันส่งตัวเข้า หอ ม่านแก้วถูกลอบวางยาพิษอย่างโหดเหี้ยมจนเสียชีวิต สร้างความเสียใจให้แก่คุณใหญ่เป็นอย่างยิ่ง และด้วยความรักที่มีต่อเธอ คุณใหญ่ไม่ยอมที่จะมีรักกับใครอีกแม้กระทั่งท่านหญิงวิไลก็ตาม กาลเวลาผ่านไปเจ้านางม่านแก้วได้ไปเกิดใหม่ และได้กลับมาที่วังแห่งนี้อีกครั้งซึ่งในปัจจุบันเป็นโรงเรียนสตรีชื่อว่า โรงเรียนกุลนารีวิทยา และได้กลายเป็นสมบัติของ คุณชายจิรายุส หลานชายคนเดียวของท่านหญิงวิไลซึ่งมีสิทธิในสมบัติทั้งหมดหลังจากที่คุณใหญ่ สิ้น

ใน ชาติภพใหม่นี้เธอชื่อ ราชาวดี เธอได้เข้าทำหน้าที่เป็นครูสอนภาษา ราชาวดีรู้สึกผูกพันกับสถานที่นี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรือนฝรั่งด้านหลังและเพลง ลาวม่านแก้ว ที่เป็นเพลงต้องห้ามของที่นี่เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเพลงที่คุณใหญ่นั้น ได้แต่งขึ้นเพื่อมอบให้แก่ม่านแก้วหญิงเดียวที่เขารัก ณ ที่แห่งนี้เธอได้พบกับคุณใหญ่ที่คอยวนเวียนรอคอยเธออยู่ตลอดเวลา แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าราชาวดีนั้นลืมเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตจนหมด สิ้น

ราชาวดีสนใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตอย่างมากและหาโอกาสมา ฟังคุณใหญ่เล่าเรื่องราวให้ฟังอยู่เสมอ โดยที่เธอไม่ได้เกรงกลัวเขาเลยแม้แต่น้อย จนวันหนึ่งเธอได้พบรูปของเจ้านางม่านแก้วซึ่งมีใบหน้าละม้ายคล้ายเธอ ประหนึ่งเป็นพิมพ์เดียวกัน ทำให้เธอได้ทราบว่า เจ้านางม่านแก้วกับเธอจะต้องมีความเกี่ยวพันกันอย่างแน่นอน และเธอเองก็รู้สึกผูกพันกับคุณใหญ่โดยไม่รู้ตัว คุณชายจิรายุสหลงรักราชาวดี ถึงแม้ว่าเขาจะมี คุณหญิงสวรรยา เป็นคู่หมั้นอยู่แล้ว

จนเขาตัดสิน ใจที่จะถอนหมั้นกับสวรรยา ซึ่งทำให้ท่านหญิงวิไลเรขา ซึ่งมีศักดิ์เป็นย่าและมีชีวิตอยู่อย่างเดียวดายอยู่ที่วังสาทรหลังจากเกิด เหตุโศกนาฏกรรมครั้งนั้น ท่านหญิงวิไลได้พบราชาวดี ซึ่งทันทีที่ได้เห็นเธอก็ปักใจทันทีว่านี่คือ เจ้านางม่านแก้วที่กลับชาติมาเกิดเพื่อทำลายเธอ และเธอเองก็ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ท่านหญิงจึงวางแผนให้อาจารย์ใหญ่พาราชาวดีมาถวายการรับใช้ ซึ่งการที่ราชาวดีมาอยู่ที่นี่เธอได้พบว่าท่านหญิงวิไลนั้นเป็นผู้ที่เชี่ยว ชาญเรื่องพิษ

วัน หนึ่งเธอได้พบว่าคุณใหญ่มาหาเธอที่วังของท่านหญิงวิไล เธอจึงสอบถามและได้ทราบว่าคนที่วางยาพิษม่านแก้วก็คือท่านหญิงวิไลนั่นเอง โดยร่วมมือกับหม่อมพเยียมารดาของคุณใหญ่ในการลงมือ และความพยาบาทจากครั้งนั้นก็ยังไม่สิ้นสุด เมื่อท่านหญิงวิไลพยายามที่จะวางยาราชาวดีอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้คุณชายจิรายุสมาช่วยเหลือได้ทัน หลังจากที่ท่านหญิงวิไลสิ้นใจไปพร้อมกับความพยาบาท คุณชายจิรายุสก็ได้ขอราชาวดีแต่งงานอีกครั้ง แต่เป็นเพราะความรัก ความจริงใจและความผูกพันของคุณใหญ่ที่มีต่อเธอ

เธอจึงปฏิเสธและ ตัดสินใจละทางโลกไปปฏิบัติธรรมเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับคุณใหญ่ สร้างความผิดหวังให้กับคุณชายจิรายุสเป็นอย่างยิ่ง จนเวลาผ่านไปอีกไม่นานเธอก็เสียชีวิต ในที่สุดดวงชะตาของคนสองคนที่ได้พลัดพรากจากกันมานานแสนนานก็ได้กลับมาพบกัน คุณใหญ่ได้กลับมาเกิดเป็นลูกชายคนเดียวของคุณชายจิรายุสกับคุณหญิงสวรรยา ชื่อว่า หม่อมหลวงจิราคม ส่วนราชาวดีได้กลับมาเกิดเป็นลูกสาวของคุณถวิลเพื่อนรักของราชาวดีชื่อว่า อันตรา และมีใบหน้าละม้ายกับราชาวดีเป็นอย่างยิ่ง

ทั้งสองสนิทสนม กันอย่างรวดเร็วจนคุณชายจิรายุสแปลกใจ แต่เมื่อคุณถวิลได้นำจดหมายของราชาวดีที่เขียนถึงเธอก่อนตาย และได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดของเธอ ทำให้คุณชายจิรายุสเข้าใจและรู้ว่าที่ราชาวดีไม่รับรักเขาเป็นเพราะอะไร ทั้งจิราคม และอันตราผูกพันกันอย่างรวดเร็วเนื่องด้วยเพลงลาวม่านแก้วที่ทั้งคู่ชื่นชอบ เป็นพิเศษจนทำให้ความสัมพันธ์พัฒนาอย่างรวดเร็ว และในที่สุด การรอคอยและความรักของคนทั้งคู่ที่รอคอยการพบกันมานานแสนนานก็ได้กลับมาพบ กันและสุขสมหวังอีกครั้ง

รายชื่อนักแสดงละคร แต่ปางก่อน

ศรราม เทพพิทักษ์ แสดงเป็น หม่อมเจ้ารังสิธร / จิราคม
แอน ทองประสม แสดงเป็น เจ้านางน้อย / ราชาวดี / อันตรา
ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ แสดงเป็น ม.ร.ว.จิรายุส
สกาวใจ พูลสวัสดิ์ แสดงเป็น หม่อมเจ้าหญิงวิไลเรขา
เมย์ เฟื่องอารมย์ แสดงเป็น ม.ร.ว.สวรรยา
นัฏฐา ลอยด์ แสดงเป็น กาบทอง
รัชนก แสงชูโต แสดงเป็น ถวิล

แต่ปางก่อน 2530

พ.ศ. 2490 “ราชาวดี” สาวน้อยวัย 17 ปี เมื่อจบการศึกษาแล้วก็ได้เดินทางมาที่โรงเรียนกุลนารี เพื่อสมัครเป็นครูตามความประสงค์ของมารดาที่ล่วงลับ ไปแล้ว “กาบทอง” อาจารย์ใหญ่ประจำโรงเรียนรับราชาวดีเข้าเป็นครูด้วยความเต็มใจ เพราะเธอกับแม่ของราชาวดีเคยรู้จักกันมาก่อน

นับแต่ก้าวแรกที่ ราชาวดีเหยียบย่างเข้ามาในเขตโรงเรียนซึ่งเป็นวังเก่าก็รู้สึกแปลก ๆ เพราะเหมือนมีใครตามเธออยู่ห่าง ๆ และยิ่ง “ถวิล” เพื่อนสนิทของเธอเล่าถึงความน่ากลัว ของเสด็จในกรมฯ และท่านชายรังสิธรผู้เป็นโอรสและเจ้าของวัง ซึ่งล่วงลับไปแล้ว ยิ่งทำให้ราชาวดีสนใจวังนี้มากขึ้นไปอีก คืนแรกที่ราชาวดีเข้าพัก เธอก็ได้ฝัน ถึงวังอันรโหฐาน และเพลงไทยเดิมที่ชื่อ “ลาวม่านแก้ว” อันแสนไพเราะ และชายหนุ่มที่เรียกเธอว่า “เจ้านางน้อย” แต่ไม่ทันได้เห็นหน้าผู้ชายคนนั้นราชาวดี ก็สะดุ้งตื่นเสียก่อน

ราชาวดี ต้องการหาคำตอบว่าสิ่งที่เธอฝันนั้นคืออะไร จึงแอบเข้าไปในวังซึ่งถูกทิ้งร้างมานานจนทรุดโทรม ที่นั่นราชาวดีได้พบกับ “จางวางจัน” ข้ารับใช้ ้เก่าแก่ของเสด็จในกรมฯ ราชาวดียิ่งแปลกใจมากขึ้น เมื่อจางวางจันเรียกเธอว่า “เจ้านางน้อย” เหมือนผู้ชายคนนั้นในฝันของเธอ

จางวาง จันชวน ราชาวดี ไปที่ ตำหนักริมน้ำแต่เธอปฏิเสธ ระหว่างเดินทางกลับราชาวดีรู้สึกเหมือนมีใครบางคนดึงดูดเธอให้ตามเขาไปโดย ไม่รู้ตัว ราชาวดีรู้สึกตัวอีกทีก็พบว่ายืนอยู่หน้าบ้าน สีขาว ราวบ้านในเทพนิยาย เธอรู้ทันทีว่านี่คือตำหนักริมน้ำที่จางวางจันชวนเธอมา กาบทองพาราชาวดีไป กราบหม่อม “พรรณราย” เจ้าของโรงเรียน ทำให้ได้ พบกับ “ม.ร.ว. จิรายุส” ลูกชายของหม่อมและ “สวรรยา” คู่หมั้น หม่อมพรรณรายประหลาดใจ ที่ราชาวดีหน้าตาเหมือนเจ้านางน้อยไม่มีผิดเพี้ยน เพราะตอนเด็กๆหม่อมเคยพบกับเจ้านางน้อย แต่ท่านก็ไม่ทราบรายละเอียดความเป็นมาของเจ้านางจากลาวผู้นี้มากนัก และดูเหมือนท่านจะไม่อยากพูดถึงเรื่องในอดีตนี้ด้วย

ราชาวดีหาโอกาส ปลีกตัว ไปที่ตำหนักริมน้ำบ่อยครั้ง จนได้พบกับผู้ชายผู้เป็นเจ้าของตำหนัก เธอรู้สึกสนิทคุ้นเคยเหมือนรู้จักกันมานาน ชายคนนั้นให้ราชาวดี ดูรูปเจ้านางน้อยที่อยู่ใน ตำหนัก ทำให้ราชาวดีถึงกับหมดสติไป เพราะภาพที่เห็นช่างเหมือนตัวเธอราวคน ๆ เดียวกัน

เมื่อฟื้นจากสลบ ก็พบว่าตนเองได้เข้ามาอยู่ปี พ.ศ.2453 ในสภาพเจ้านางน้อย ราชาวดีได้พบกับท่านชายใหญ่หรือ “ท่านชายรังสิธร” ซึ่งนั่นก็ทำให้เธอ หมดสติไปอีกครั้ง เมื่อได้สติขึ้นมา คราวนี้ราชาวดีพบว่าตัวเองนอนสลบอยู่บนเตียง โดยมีบรรดาครูรุมล้อมด้วยความห่วงใย

ถวิลเล่าให้ราชาวดีฟังว่า จางวางจัน พบเธอนอนสลบอยู่ในสวนหน้าวัง ราชาวดีสารภาพว่าเธอแอบเข้าไปที่ตำหนักริมน้ำ ราชาวดีได้พบวิญญาณท่านชายใหญ่อีกครั้งในงานประจำปีของโรงเรียน โดยเธอได้บรรเลงไวโอลินเพลง “ลาวม่านแก้ว” ทำให้ท่านหญิงวิไลเรขา ป้าแท้ๆ ของจิรายุส ขวัญผวา เพราะก่อนหน้านั้นวิไลเรขาเคยเป็นคู่หมั้นของท่านชาย ใหญ่ตามความเห็นชอบของผู้ใหญ่

แต่ท้ายที่สุดท่านชายใหญ่ก็ขอถอน หมั้นกับเธอ แล้วไปแต่งงานกับเจ้านางน้อย ส่วนเพลง “ลาวม่านแก้ว” เป็นเพลงที่ท่าน ชายใหญ่แต่งให้เจ้านางน้อย และถูกนำมาบรรเลงในวันแต่งงาน

วิไลเรขาเกลียดราชาวดีเพราะคิดว่าเป็นเจ้านางน้อยกลับชาติมาเกิดเพื่อจองเวรกับเธอ
ดัง นั้นวิไลเรขาจึงแกล้งให้ราชาวดีมาอยู่รับใช้ช่วงปิดเทอม ราชาวดีถูกวางยาให้ป่วยทีละน้อย เหมือนที่วิไลเรขาเคยทำกับเจ้านางน้อยในอดีต

จิรายุสนำตัวราชาวดี ส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ซึ่งก็ทำให้วิไลเรขาโกรธมากจนป่วยหนัก ก่อนที่วิไลเรขาจะสิ้นลมเธอได้บังคับให้จิรายุสเต่งงานกับสวรรยา และหลังการแต่งงาน ทั้งคู่เกิดการทะเลาะกันใหญ่โตสวรรยา ทวงทุกสิ่งทุกอย่างจากชายหนุ่ม

หม่อมพรรณรายได้ยินทุกอย่างทำใจรับ ไม่ได้ท่านหัวใจวายทันที่แต่ก็ยังทันเห็นหน้าหลานชายคนเดียวก่อนเสีย จิรายุสเสียใจมากเพราะทั้งชีวิตเขาเหลือเพียงแม่คนเดียว เขาหย่าขาดจากสรรยาโดยเลี้ยงลูกชายเพียงคนเดียว คือ “จิราคม” ราชาวดีตัดสินใจลาออกจากการเป็นครูแล้วกลับมาที่อุดรฯ โดยมี วิญญาณ ของท่านชายใหญ่ติดตามมาเป็นกำลังใจ กระทั่งคืนหนึ่งท่านชายได้มาบอกลาเธอ ราชาวดีเสียใจที่จะไม่ได้พบท่านชายแล้ว แต่ถ้าเป็นการ จากลาเพื่อ ได้พบกันใหม่ราชาวดีก็ยินดี จากนั้นเธอก็ตัดกิเลสทางโลกเข้าวัดบำเพ็ญกุศล ราชาวดีป่วยหนัก เมื่อถวิลไปเยี่ยมก็พบเพียงกาบทองมาเยี่ยมถวิลที่บ้านและได้พบกับอันตราก็ ถึงกับอึ้งไป เพราะอันตรามีหน้าตาเหมือนราชาวดีเหลือเกิน

อันตรา อาสามาส่งกาบทองที่บ้าน ทำให้เธอได้พบกับจิรายุส เมื่อจิรายุสได้พบอันตราก็รู้สึกเอ็นดู อันตราชอบตำหนักริมน้ำของจิรายุสมาก เธอพยายามขอ ซื้อแต่ ไม่สำเร็จ เพราะจิรายุสตั้งใจเก็บไว้มอบให้จิราคมในวันแต่งงาน อันตรามักจะไปที่ตำหนักริมน้ำบ่อย ๆ จนได้เจอจิราคม ทั้งคู่รู้สึกเหมือนมีกระแสไฟอ่อน ๆ แล่นพล่านไปทั้งตัว อันตราตกใจรีบหนีออกมา แต่ทั้งคู่ก็ต้องมาพบกันอีกครั้งในงานราตรี จิราคมเดี่ยวเปียโนเพลง “ลาวม่านแก้ว” ซึ่งอันตราโปรดปรานมาก เพราะแม่ของเธอเคยร้องให้ฟังตอนเธอเด็ก ๆ ความสัมพันธ์ของทั้งคู่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จิรายุสไปทาบทามอันตรามาเป็นสะใภ้ พร้อมกับเปรยว่า การรอคอยของท่านชายใหญ่ และเจ้านางน้อยสมควรจะจบสิ้นลงได้แล้ว อุปสรรคต่าง ๆ ได้ผ่านพ้นไป ทั้งคู่เข้าสู่พิธีวิวาห์ และสัญญาต่อกันว่าจะดูแลกันไปจนแก่เฒ่า ท่ามกลางบรรยากาศหวานละมุนของเสียงเปียโน เพลง “ลาวม่านแก้ว” ที่จิราคมเซอร์ไพรส์เจ้าสาวในวันแต่งงาน

ออกอากาศทางช่อง 3 ระหว่าง เดือนมกราคม ถึง วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2530

แต่ปางก่อน พ.ศ. 2530 นำแสดงโดย

ฉัตรชัย เปล่งพานิช  (รังสิธร, จิราคม)
จริยา สรณะคม (ม่านแก้ว, ราชาวดี, อันตรา)
นพพล โกมารชุน (จิรายุส)
ดวงตา ตุงคะมณี (วิไลเลขา)
อุทุมพร ศิลาพันธ์ (สวรรยา)