Tag Archives: รชนีกร พันธุ์มณี

อีสา-รวีช่วงโชติ 2541

อีสา ชีวิตของเธอผ่านความชอกช้ำมามากมาย หวังเพียงสิ่งเดียว ได้พบหน้าลูกชายที่พลัดพรากตั้งแต่แรกลืมตาดูโลก

อีสา เป็นเรื่องราวของ สา หรืออุษาเป็นลูกทาสที่เกิดและโตในวังของหม่อมเจ้าโชติช่วงงระวี รวีวาร ที่แม้จะมีการเลิกทาสแล้วแต่บรรดาทาสหลายคนซึ่งไม่มีที่จะไปก็ยังสมัครใจอยู่ใต้บารมีท่านเป็นสิบ ๆ คน สาเกิดมาไม่มีพ่อ และแม่ก็ตายหลังสาเกิดเพียงสองวัน สาจึงเป็นเด็กกำพร้าที่อยู่ภายใต้การดูแลของป้าเจิม อดีตทาสที่อาวุโสสูงสุดในวัง เมื่อสาอายุได้สิบสองปีป้าเจิมก็พาสาไปฝากตัวไว้กับหม่อมนิ่มหม่อมน้อย ให้ช่วยฝึกหัดขัดเกลา
จนสาเติบโตเป็นสาวแรกรุ่นที่เรียนรู้เรื่องของการวางตัวอย่างผู้ดี และยังได้หัดรำละครอีกด้วย สาแอบชื่นชมบูชาท่านชายมาตั้งแต่ย่างเข้าสู่วัยแรกรุ่นจนวันหนึ่ง เมื่อสาอายุได้สิบหกปี หม่อมทั้งสองก็”ถวายตัว” สาให้กับท่านชาย ธรรมชาติสอนให้สาเรียนรู้ที่จะมีจริตจก้านตามวัย ทำให้ท่านชายลุ่มหลงในตัวสามากกว่าหม่อมคนอื่น ๆ

แต่ถึงกระนั้นสาก็ยังไม่ได้รับการยกย่องให้เป็น “หม่อม” อย่างออกหน้าออกตา จนกระทั่งสาตั้งท้องและคลอดลูกชาย ซึ่งเป็นลูกชายคนแรกและคนเดียวของท่านชาย หม่อมพริ้มซึ่งเป็นหม่อมใหญ่ก็ได้โอบอุ้ม “คุณชาย” ไปเลี้ยงดูฟูมฟักเสมอลูกชายของตน ให้สาได้พบลูกบ้างเป็นครั้งคราวและเรียกลูกชายของตนเหมือนคนอื่น ๆ ว่า “คุณชาย”

หลังจากนั้นไม่นาน ท่านชายก็สิ้นพระชนม์ลง และจำเพาะต้องมาสิ้นลงในคืนที่สาเพิ่ง “ถวายงาน” เสร็จ ฐานะของสาที่ทำท่าว่าจะดีขึ้นมาหน่อยหนึ่งหลังจากคลอดลูกชายก็ดูเหมือนจะตกต่ำลงไป ด้วยข้อหา “กาลกิณี หรือผู้หญิงกินผัว” ที่แม้สาเองก็ไม่รู้ความหมาย

หลังจากท่านชายสิ้น ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในวัง ทั้งด้านผู้คนที่แยกย้ายกันออกไปเป็นบางส่วน ทั้งด้านสภาพบ้านเรือนที่รายรอบวัง
ในความเปลี่ยนแปลงนั้น สาก็ได้รู้จักกับสมศักดิ์ ชายหนุ่มรูปงามที่มีกิริยาท่าทีสุภาพอ่อนโยน สาหลงรักเขาโดยง่าย ด้วยวัยที่ยังเยาว์ และธรรมชาตในตัวอันลึกล้ำ แต่เป้าหมายของนายสมศักดิ์ไม่ได้อยู่ที่สา เขาเพียงอาศัยสาเพื่อเข้าถึงตัวคุณหญิงโสภาพรรณวดี ลูกสาววัยรุ่นของหม่อมพริ้มต่างหาก  สานั้นชื่นชมนายสมศักดิ์จนถึงขั้นยอมตัวเป็นสะพานสื่อรักให้ แม้จะรู้ว่าผิดแต่เธอก็ทนแรงอ้อนวอนของนายสมศักดิ์ไม่ไหว ในที่สุดถึงกับพาคุณหญิงหนีตามนายสมศักดิ์ออกจากวัง ทั้ง ๆ ที่สาเองก็กำลังตั้งครรภ์ลูกคนที่สองของท่านชายอยู่ด้วย

สาคลอดลูกคนที่สองเป็นผู้หญิง จึงยกให้เป็นลูกของคุณหญิงโสภาฯ กับนายสมศักดิ์ซึ่งคุณหญิงก็รักหนูน้อยมากเช่นกัน ตั้งชื่อให้ว่าโสภิตพิไล
สานั้นลึก ๆ รู้สึกผิดต่อคุณหญิงที่พาเธอมาตกต่ำจึงเฝ้าดูแลไม่ให้คุณหญิงต้องลำบาก แรก ๆ ก็ดูเหมือนจะมีความสุขกันตามประสา แต่นานวันเข้า ทรัพย์สินที่คุณหญิงมีติดตัวมาเริ่มร่อยหรอ สาจึงออกหางานทำ และด้วยความที่เคยเป็นนางรำมาก่อน สาก็ได้งานแสดงละครเวทีกลายเป็นอุษาวดี – -นางละครผู้มีชื่อเสียงในเวลาไม่นาน

คุณหญิงโสภาฯ เริ่มป่วยกระเสาะกระแสะ และชืดชาในเรื่องบนเตียงจนนายสมศักดิ์เกิดความเบื่อหน่ายแม้จะยังรักคุณหญิงอยู่มาก แต่ความเห็นแก่ตัวมีมากกว่าวันหนึ่งนายสมศักดิ์ก็ย่องเข้าหาสาและได้เสียกัน สารู้สึกผิด แต่ด้วยแรงปรารถนาในใจก็ผลักดันให้สาดำดิ่งลงสู่ ห้วงแห่งดำกฤษณาอย่างยากที่จะถอนตัว จนวันหนึ่งคุณหญิงก็จับได้ และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันคุณหญิงก็หายตัวไปและเสียชีวิตด้วยการจมน้ำตายในเวลาต่อมา

หลังงานศพคุณหญิง สาตัดสินใจแต่งงานกับนายวิทย์ นักดนตรีหนุ่มที่มาติดพันเธออยู่ในช่วงนั้นเพื่อหนีบาปในใจที่ตามหลอกหลอน นายสมศักดิ์เสียใจมากจนกินเหล้าเมาและตกน้ำตายตามคุณหญิงไป  สาอยู่กินกับนายวิทย์อย่างไม่ราบรื่นนักเพราะนายวิทย์นั้นต้องอาศัยอยู่กับพี่สาว
ซึ่งไม่ยอมรับในตัวน้องสะใภ้อย่างสา ประกอบกับนายวิทย์เป็นนักดนตรีที่มีอารมณ์ศิลปินสูง ถึงเขาจะรักสามากแต่เขาก็ไม่เข้าใจในความต้องการของสาได้ดีเพียงพอ

ทำให้เมื่อวันหนึ่ง สาได้พบกับนายเซกิ นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นและมีความสัมพันธ์กัน สาจึงตัดสินใจขอแยกทางกับนายวิทย์ เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ญี่ปุ่นแพ้สงคราม นายเซกิต้องกลับไปญิ่ปุ่น ก็ได้มอบมรดกเป็นเงินจำนวนมากให้กับสา

เวลาผ่านไป…อุษาส่งโสภิตพิไลเข้าเรียนในโรงเรียนประจำที่ดีที่สุด ส่วนตัวเธอใช้เงินที่ได้มาจากนายเซกิเปิดธุรกิจสถานบันเทิงโดยมีประธาน
– -หนุ่มรุ่นน้องที่กลายเป็นสามีลับ ๆ ของเธอด้วยเป็นผู้ช่วย  อาชีพและชื่อเสียงของอุษามีผลกระทบต่อโสภิตไม่น้อย เมื่อโสภิตเรียนจบชั้นมัธยมปลายก็ออกจากโรงเรียนกลับมาอยู่ที่บ้าน เธอเรียกอุษาว่าป้า เพราะคิดว่าตัวเองเป็นลูกของคุณหญิงที่ตายจากไป และอุษาก็มีฐานะเป็นเพียงกึ่งญาติห่าง ๆ กึ่ง “ข้าเก่า”ของแม่เธอเท่านั้น

วันหนึ่งโชคชะตาบันดาลให้อุษาได้พบกับคุณชายรวีช่วงโชติ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้พิพากษาหนุ่มที่เพิ่งสำเร็จการศึกษามาจากเมืองนอก
อาจจะด้วยความผูกพันทางสายเลือดที่ทำให้หม่อมราชวงศ์หนุ่มรู้สึกดีกับอุษา ถึงแม้ใคร ๆ จะเล่าลือถึงอดีตและเบื้องหลังของสาวใหญ่ผู้นี้ในทางไม่ดีนักก็ตาม หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเขามีใจให้กับอุษาเสียแล้ว รวมทั้งโสภิตพิไล ซึ่งรู้สึกขัดใจขัดตาต่อผู้เป็นป้ามาแต่ต้น

โสภิตพิไลเกิดความรู้สึกอยากจะท้าทายผู้เป็นป้าจึงพาตัวเข้าไปพัวพันกับทั้งคุณชายรวีช่วงโชติและนายประธาน นั่นทำให้อุษายิ่งร้อนรนด้วยเกรงว่าโสภิตกับคุณชาย- -ลูกชาย-หญิงของเธอเอง จะชอบพอกันขึ้นมาจริง ๆ

วันหนึ่งก็เกิดเหตุ โสภิตพิไลถูกนายประธานปลุกปล้ำ อุษาเข้าขัดขวางและยิงนายประธานตาย อุษากลายเป็นผู้ต้องหาฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา เพราะเธอไม่ต้องการให้โสภิตต้องมาเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่โสภิตทนเห็นอุษาต้องมารับโทษเพราะปกป้องเธอไม่ได้จึงมาเป็นพยานในศาล
และขอให้คุณชายรวีช่วงโชติช่วยในด้านกฏหมายด้วยอุษาจึงพ้นผิดจากคดี แต่อุษาไม่อาจเลี่ยงพ้นผลกรรมของตัวเอง เมื่อเสร็จสิ้นคดีหม่อมพริ้มก็ให้รับโสภิตพิไลซึ่งท่านเข้าใจว่าเป็นลูกสาวของคุณหญิงโสภาเข้าไปอยู่ในบ้าน

โสภิตเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่ออุษาเพราะคิดว่าอุษาปิดบังชาติกำเนิดของตน เธอคิดว่าการที่เธอเข้าไปเป็นพยานให้อุษาจนพ้นข้อกล่าวหานั้นเป็นการตอบแทนบุญคุณที่อุษาเลี้ยงดูเธอมาอย่างเพียงพอแล้ว นับแต่นี้เธอก็ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับอุษาอีกต่อไป

รัตนโกสินทร์

รัตนโกสินทร์รัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องราวชีวิตของ พ่อฟัก หรือ ฮก ลูกคนที่ 2 และเป็นบุตรชายคนโตของเจ้าสัวในเตาซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่าง รัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 4 ซึ่งในวัยเยาว์ได้ติดตาม แม่ส้มจีน พี่สาวซึ่งแต่งงานกับ หลวงเทพอาญา โดยได้ไปอาศัยอยู่กับพี่สาวและพี่เขยที่เรือนของ คุณพระราชพินิจจัย บิดาของหลวงเทพอาญาและที่แห่งนี้ทำให้ฟักได้พบกับ แม่ช้อง หลานสาวของคุณพระราชพินิจจัย ซึ่งฟักก็ได้หลงรักแม่ช้องในทันทีเมื่อแรกเห็นและเมื่อพ่อฟักอายุได้ 18 ปีก็ได้ขอให้แม่ส้มจีนขอแม่ช้องมาเป็นภรรยา แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากถูกผู้ใหญ่ขัดขวางกีดกันจึงทำให้พ่อฟักต้องย้ายกลับไปอยู่บ้านเก่าซึ่งหลังจากนั้น พ่อสน หลานชายคนเดียวของเจ้าพระยามหาเสนาที่สมุหพระกลาโหม ซึ่งมีนิสัยเจ้าชู้ทำตัวเป็นอันธพาลได้มาติดพันแม่ช้องโดยการติดสินบนนางเอี่ยมคนรับใช้คนสนิทของคุณช้อง ซึ่งหลังจากนั้นพ่อสนและแม่ช้องก็ได้เสียกัน ต่อมาพ่อสนจึงพาแม่ช้องหนีออกจากเรือนคุณพระราชพินิจจัย ไปอาศัยอยู่ที่เรือนของตนระหว่างนั้นฟักได้พบกับ แม่เพ็ง บุตรสาวคนเดียวของ พระยาสุเรนทรราชเสนา ระหว่างที่แม่เพ็งจมน้ำฟักได้เข้าไปช่วยทำให้ ท่านผู้หญิงเรียม แม่ของแม่เพ็งนั้น พอใจในตัวของพ่อฟักอยากได้มาเป็นลูกเขย ซึ่งพ่อฟักเองก็หลงรักแม่เพ็งเมื่อแรกเห็น ทางด้านแม่เพ็งหลงรักพ่อฟักเมื่อแรกเห็นเช่นกัน ต่อมา พ่อฟักได้เข้ารับราชการในตำแหน่งทนายไต่สวนคดีความและแม่เพ็งก็ได้โตเป็นสาวแล้วและเมื่อคุณสน ซึ่งมีลูกสาวกับคุณช้องแล้ว 1 คนและไม่สนใจไยดีคุณช้องอีกต่อไป ได้เห็นแม่เพ็งก็หลงรักและเข้ามาจีบแต่แม่เพ็งไม่สนใจคุณสนก็ไม่ละความพยายาม ต่อมาฟักทำความดีความชอบจนได้เลื่อนยศขึ้นเป็นคุณหลวง พ่อฟักได้ขอให้เจ้าสัวในเตาและแม่พลับพ่อแม่ของตนเอง ไปสู่ขอแม่เพ็งจากท่านพระยาสุเรนทรราชเสนาและท่านผู้หญิงเรียม โดยระหว่างนั้นแม่ช้อง,ลูกสาวและนางเอี่ยม ได้หนีออกจากบ้านท่านเจ้าพระยามหาเสนามาอาศัยอยู่ที่เรือนหอของพ่อฟักและแม่เพ็งที่ปากคลองบางลำภู พ่อฟักจึงส่งแม่ช้องไปอยู่กับพี่สาวและพี่เขยที่เมืองกาญจนบุรี ซึ่งพี่เขยของพ่อฟักได้ไปรับราชการที่นั่น โดยพาเมียและลูกอีก 3 คนไปด้วย หลังจากพระราชพินิจจัยบิดาถึงแก่อสัญกรรม และเมื่อคุณสนทราบว่าแม่เพ็งกำลังจะแต่งงานกับฟักก็โกรธมาก บุกไปยังงานแต่งของฟักและแม่เพ็งและถามหาคุณช้องแต่ฟักก็ได้พ่อแจ้งหรือหมื่นจิตรใจหาญคนรู้จักกันช่วยแก้ต่างให้ทำให้คุณสนหัวเสียกลับไป ต่อมาเมื่อท่านเจ้าพระยามหาเสนากำลังจะสิ้นใจ ทั้งแม่ช้อง,ลูกสาวและนางเอี่ยมก็ได้กลับมาดูใจท่านเจ้าพระยาเป็นครั้งสุดท้าย และเมื่อท่านเจ้าพระยาเสนาสิ้นใจ แม่ช้องก็หมดที่พึ่งกลายเป็นทาสในเรือนพ่อสนไปตลอดชีวิต ส่วนพ่อฟักและแม่เพ็งหลังจากแต่งงานก็มีลูกสาวด้วยกันถึง 3 คนและในปี พ.ศ. 2376 พ่อฟักและท่านพระยาสุเรนทรราชเสนา ผู้เป็นพ่อตา ได้ไปรบในสงคราม อานามสยามยุทธแต่ท่านได้สิ้นชีวิตในสนามรบ และจากสงครามครั้งนี้ทำให้พ่อฟักได้เลื่อนยศขึ้นเป็นคุณพระที่พระงำเมือง ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคตลงในปี พ.ศ. 2394 พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ จึงลาผนวชมาขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 ฟัก ก็ได้เลื่อนยศขึ้นเป็นพระมหาวินิจฉัยและได้ย้ายไปทำงานที่วังหน้า หลังจากนั้นพ่อฟักและแม่เพ็งก็มีลูกชายอีก 2 คน และหลานปู่ของพ่อฟักก็ได้บันทึกเรื่องราวของปู่และย่าเอาไว้และได้กลายเป็นเรื่อง รัตนโกสินทร์

ผู้กำกับ : จรูญ ธรรมศิลป์
ผลิตโดย : ดาราวิดิโอ
เขียนบท : ศัลยา
บทประพันธ์ : ว.วินิจฉัยกุล

นักแสดง

เอกรัตน์ สารสุข
กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา
อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร
รชนีกร พันธุ์มณี

มือนาง

มือนาง เรื่องราวเริ่มต้นเมื่อ หมอดนัย อุดมแพทย์ (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) แต่งงานกับ ทิพวรรณ (ชฎาพร รัดนากร) มีบุตรสาวด้วยกันหนึ่งคนอายุประมาณ 7 ขวบ ชื่อ เมษยา (น้องเมย์) ครอบครัวอบอุ่นของทั้งสามเป็นที่อิจฉาของภารดา (รชนีกร พันธุ์มณี) เพื่อนสนิทของทิพวรรณที่หลงรักหมอดนัยมามานานแล้ว ภารดาวางแผนจะชิงหมอดนัยมาเป็นของตน ด้วยการตัดสายเบรกรถทิพวรรณ แต่หมอดนัยกลับเดินทางไปด้วย เมื่อรถเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ ทิพวรรณเสียชีวิต และโดนกระจกบาดข้อมือจนมือขาดกระเด็น ก่อนที่ตำรวจจะมาพลิกศพ ขณะที่หมอดนัยที่บาดเจ็บเล็กน้อยกอดลูกร้องไห้อยู่ เขาเหลือบไปเห็นมือของทิพวรรณที่ขาด นิ้วมือยังกระดิกได้ หมอดนัยจึงแอบเก็บมือนั้นไว้โดยไม่ให้ใครรู้เห็น

ภาร ดาเริ่มเอาตัวมาแทนที่ทิพวรรณ ด้วยการดูแลหมอดนัยและทำดีกับเมษยา สองพ่อลูกหลงเชื่อในคำพูด และการกระทำที่เสแสร้งของภารดาจนสนิท ในที่สุดหมอดนัยก็ตัดสินใจแต่งงานกับภารดา โดยหวังว่าภารดาจะดูแลเมษยาแทนทิพวรรณ หมอดนัยเก็บมือของทิพวรรณไว้ในตู้ลับในห้องทำงานส่วนตัว โดยไม่รู้ภารดาแอบสะกดวิญญาณทิพวรรณไว้ด้วยยันต์สีแดงที่ซ่อนอยู่ใต้ฝ้า เพดาน

หลังจากภารดามีลูกสาวกับหมอดนัยหนึ่งคน คือ มุดา (ณัฐวรา หงส์สุวรรณ) เธอก็ทวีความเกลียดชัง เมษยา (อุษามณี ไวทยานนท์) มากขึ้น เมษยามักถูกภารดาและบริวารในบ้านกลั่นแกล้งบ่อยๆ เวลาที่หมอดนัยออกไปทำงาน วันหนึ่งเมษยาถูกจับขังในห้องทำงานหมอดนัย เธอไปเจอมือนาง (มือของทิพวรรณ) โดยบังเอิญ เมษยาทำยันต์สะกดวิญญาณหลุด ทำให้วิญญาณของทิพวรรณเป็นอิสระ และออกมาปกป้องลูกอยู่เสมอ เมื่อเมษยาถูกกลั่นแกล้ง

ภีมภพ วัฒนานนท์ (กฤษณกันท์ มณีผกาพันธ์) นักศึกษาหนุ่มหล่อนิสัยดี ได้มีโอกาสรู้จักเมษยาโดยบังเอิญตอนเธอไปทำบุญให้แม่ที่วัดประทวน พ่อของภีมภพตกลงกับภารดาว่า จะจับคู่ให้ภีมภพกับมุดา แต่ภีมภพแสดงออกว่าสนใจเมษยา ยิ่งทำให้ภารดาไม่พอใจ มุดาวางแผนให้ ภิรัตน์ (ดนัย สมุทรโคจร) เพื่อนชายมาตีสนิทกับเมษยา เพื่อให้ภีมภพเข้าใจผิด ภีมภพน้อยใจและโกรธที่เห็นเมษยาสนิทกับภิรัตน์

ภารดาหาทางทำลายมือนางด้วยการจ้าง พยัคฆ์ (เอก โอรี) หมอผีมาทำพิธี เมษยาต้องการปกป้องแม่จึงขโมยเอามือนางหนีออกจากบ้านหลบไปอยู่กับฟ้างาม (ณิชานันท์ ฟั่นแก้ว) เพื่อนสนิท แต่ภีมภพเข้าใจผิดคิดว่าเมษยาหนีไปอยู่กับผู้ชายคนอื่น จึงตามไปจับตัวมาขังไว้ที่บ้านสวน ระหว่างนั้นภีมภพเริ่มเห็นใจเมษยาซึ่งมิชีวิตน่าสงสาร แต่ยังไม่ทันปรับความเข้าใจ มุดาก็ตามมาอาละวาด ยื่นคำขาดให้แต่งงาน ภีมภพจำต้องตกลงเพราะถูกพ่อกดดัน

ภารดาถูกพยัคฆ์ใช้มนต์สะกดจนมีอะไรกัน ดนัยมาเห็นเข้าและล่วงรู้ความลับว่าภารดาเป็นคนตัดสายเบรกรถทิพวรรณ จึงบอกให้เธอไปมอบตัว ภารดาตัดสินใจจะฆ่าปิดปากดนัย ภีมภพมาช่วยทัน แต่โดนเข้าใจผิดว่าเป็นคนทำร้ายจึงโดนตำรวจจับ ส่วนดนัยก็เป็นอัมพาตพูดไม่ได้

ภิรัตน์หลอกเมษยาว่ามีหลักฐานเกี่ยวกับคนที่ทำร้ายดนัย แต่มีข้อแม้ให้เมษยายอมแต่งงานด้วย วิญญาณของทิพวรรณรู้ความจริงว่าใครเป็นคนทำ และรู้ว่าเมษยาโดนหลอก จึงพยายามหาทางช่วยจนภีมภพมาขัดขวางการแต่งงานได้ทัน และพาเมษยาหนีไป

ภาร ดากับพยัคฆ์เอามือนางไปทำพิธีที่โกดังร้าง เมษยากับภีมภพตามไปช่วย เกิดการไล่ล่ากัน พยัคฆ์โดนยิงตกเขาตาย ภารดากับมุดาโดนตำรวจจับ แต่ระหว่างทางรถคว่ำ กรรมตามสนองภารดาโดนกระจกบาดมือขาด ส่วนมุดาเสียโฉม ทั้งสองคนรับไม่ได้เลยกลายเป็นบ้า

ดนัยตกลงกับเมษยาว่าจะเอามือนางไปทำพิธีทางศาสนาส่งวิญญาณทิพวรรณไปสู่สุคติ ภีมภพกับเมษยาก็ปรับความเข้าใจกัน ลงเอยกันด้วยความสุข

มนต์รักลูกทุ่ง 2538

คล้าว คนจนนิสัยดีมีน้ำใจ เป็นคนขยันทำมาหากิน เพื่อไถ่ที่นา ซึ่งแม่คอนผู้เป็นแม่นำไปจำนองไว้กับอาจอม ผู้มีอิทธิพลในหมู่บ้าน คล้าวเป็นหนุ่มเนื้อหอมมีสาวๆ มาชอบมากมาย แต่ตนมีใจรักทองกวาวสาวในใจเพียงผู้เดียว ทองกวาวลูกสาวเศรษฐี พ่อก้อน กับแม่ทับทิม เป็นคนสวย น่ารัก เรียบร้อย เชื่อฟังพ่อแม่ เธอมีพี่ซึ่งเป็นญาติสนิทชื่อ บุปผา สาวสวยวัยไล่เลี่ยกันเป็นที่ปรึกษาหัวใจ ส่วนบุปผาชอบพี่แว่น ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของนายคล้าว ทองกวาวรักคล้าวมากถึงขนาดให้เงินสามพันบาทแก่คล้าวเพื่อเอาไปไถ่ที่นา เมื่อเรื่องรู้ถึงพ่อแม่ ทองกวาวจึงถูกกีดกันความรัก โดยถูกส่งตัวไปอยู่บ้าน ป้าทองคำ ที่กรุงเทพฯ ให้เรียนตัดเย็บเสื้อผ้า

ระหว่าง นั้นทองกวาวมีชายเจ้าชู้มาชอบชื่อ ธรรมรักษ์ แต่ทองกวาวไม่สนใจเพราะรอพี่คล้าวมาขอแต่งงาน ทองกวาวพบ บุญเย็น โดยบังเอิญที่กรุงเทพฯ บุญเย็นมาสมัครเป็นนักร้องในวงดนตรีของ ธีระ ซึ่งเป็นเพื่อนของธรรมรักษ์ ทั้งทองกวาวและคล้าวได้รู้ข่าวคราวซึ่งกันและกัน โดยผ่านทางบุญเย็นเป็นสื่อกลาง ด้วยความที่กลัวลูกลำบาก อยากให้แต่งงานกับคนรวยมีฐานะอย่างธรรมรักษ์ พ่อก้อนจึงโกหกลูกสาวทองกวาวว่าคล้าวลืมทองกวาวแล้ว และมีแฟนใหม่ชื่อ สายใจ ซึ่งแอบหลงรักคล้าวและเป็นเพื่อนปลอบใจคล้าวยามเหงา ที่บ้านนอก คล้าวคิดถึงทองกวาวมาก จึงพาพรรคพวกมาหาทองกวาวที่กรุงเทพฯ

คล้า วเห็น ทองกวาวเดินเล่นกับธรรมรักษ์ จึงเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแฟนกัน คล้าวเสียใจมากจึงกลับบ้านนอก วันหนึ่งทองกวาวกลับมาบ้านนอกเพื่อมาเยี่ยมแม่ทับทิม และได้เห็นคล้าวคุยเล่นหยอกล้อกับสายใจอยู่ริมน้ำ ทองกวาวโกรธมากคิดว่าเรื่องที่พ่อก้อนเล่าเป็นความจริง เรื่องคล้าวมีแฟนใหม่ จึงรับหมั้นกับธรรมรักษ์ชายเจ้าชู้ ซึ่งอยากแต่งงานกับทองกวาวเพื่อหวังทรัพย์สมบัติของป้าทองคำ ทั้งที่ตนมีเมียแล้วเป็นนักร้องชื่อ ฤทัย บุญเย็นพาฤทัยมาตามหาธรรมรักษ์ที่บ้านนอก ฤทัยนักน้องสาวเซ็กซี่ทำตัวยั่วยวนคล้าวจนธรรมรักษ์หึง เมื่อความแตกทุกคนจึงรู้ว่าฤทัยเป็นเมียธรรมรักษ์

ตอนที่มีข่าว ประกาศเรื่องสินสอดทองหมั้นของธรรมรักษ์กับทองกวาวว่าเป็นเงินหนึ่งแสนบาท ทองหนึ่งชั่ง เรื่องจึงรู้ถึงเสือชุมโจรลูกสมุนของอาจอมผู้มีอิทธิพลในหมู่บ้าน จึงคิดการใหญ่ปล้นสินสอดทองหมั้น และจับตัวทองกวาวและป้าทองคำเป็นตัวประกันเรียกค่าไถ่ ระหว่างนั้น ดวงใจ ซึ่งเป็นพี่น้องกับสายใจลูกสาวพ่อมิ่ง ถูกบังคับให้แต่งงานกับเจิดนักเลงหัวไม้ หลานอาจอมผู้มีอิทธิพลในหมู่บ้าน ดวงใจจึงนำเรื่องไปบอก น้าเชน ชายคนรัก น้าเชนโกรธมากจึงเอาปืนไล่ยิงเจิดจนตาย และบังเอิญพบทองกวาวและป้าทองคำถูกโจรจับอยู่กลางป่า น้าเชนจึงเข้าไปช่วยจนถึงแก่ความตาย

ส่วนคล้าวและตำรวจตามมาช่วย ทองกวาวและป้าทองคำได้สำเร็จ โจรทั้งหมดพร้อมอาจอมผู้อยู่เบื้องหลังเรื่องทั้งหมดถูกตำรวจจับ เรื่องราวทั้งหมดถูกคลี่คลาย ตำรวจรู้ว่าอาจอมค้าของเถื่อนผิดกฎหมายและเป็นคนสั่งปล้นบ้านของทองกวาวด้วย ในที่สุดคล้าวคนดีได้แต่งงานกับทองกวาวสาวคนรัก โดยมีป้าทองคำเป็นคนสนับสนุน และเป็นเถ้าแก่สู่ขอทองกวาวให้แก่คล้าว เพราะคล้าวได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าคล้าวเป็นคนดีมีน้ำใจและจริงใจกับ ทองกวาว

ภูตแม่น้ำโขง

ความเชื่อถือศรัทธาของคนสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขง อันสืบเนื่องมาจากร่องรอยของนิทานพื้นบ้านและวรรณคดีโบราณ สมบูรณ์ด้วยความงามของธรรมชาติ ภูมิศาสตร์ อารยธรรม และสรรพวิทยาที่ขรึม ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ สอดแทรกด้วยหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ผสมกลมกลืนกับชีวิตความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนปรัชญาของผู้คนทั้งสองฝั่งโขง