Tag Archives: จริยา สรณะคมน์

บ่วงดวงใจ

บ่วงดวงใจ เป็นเรื่องราวความรักของ สรงชล น้องสาวของอนงค์ อนงค์แต่งงานกับเมธิส มีลูกสาววัยหกขวบหนึ่งคน เมื่อสามปีก่อนอนงค์ล้มป่วยลงหลังจากลูกชายวัยสี่เดือนเสียชีวิต อนงค์กลายเป็นคนป่วยที่มีแต่ทรงกับทรุดในวัยเพียง ๒๗ ปี เธออ้อนวอนขอร้องให้น้องสาวมาอยู่ด้วย สรงชลหรือปุ้มเป็นเด็กสาวที่รักอิสระ เธอเคยปฏิญาณไว้ว่าจะไม่ยอมไปอยู่ร่วมครอบครัวของพี่น้องคนใดที่แต่งงานไป แล้วเป็นอันขาด…แต่เธอก็ขัดพี่สาวที่เจ็บป่วยอย่างอนงค์ไม่ได้

น้องอาย หลานสาวของปุ้มติดน้าสาวเสียยิ่งกว่ามารดา ในขณะที่พี่เขยที่แสนดีก็พยายามรักษาระยะห่างระหว่างเธอกับเขาอย่างเคร่งครัด… เขาแสดงท่าทีสนับสนุนหนุ่มใหญ่วัยสี่สิบอย่างเรียบ ที่มาติดพันสรงชลอย่างเปิดเผย…จนก่อให้เกิดเป็นความโกรธขึ้งเล็ก ๆ ให้กับสรงชล ซึ่งเธอเองก็รู้สึกกลัวความรู้สึกของตัวเองไม่น้อย…

สำหรับคนป่วยอย่างอนงค์ ร่างกายที่อ่อนแอส่งผลให้จิตใจเปราะบางและอ่อนไหวยิ่งนัก เธอจมจ่อมอยู่กับความหวาดระแวงในตัวสามี แม้เขาจะเสมอต้นเสมอปลายกับเธอตลอดมาก็ตาม บางครั้งเธอจึงเผลอแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดใส่คนรอบข้าง… ซึ่งสรงชลตระหนักดีว่าความระแวงของอนงค์นั้น…มีมูล สรงชลจึงตัดสินใจแต่งงานกับเรียบ…ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รักใคร่เขาเลย…

แต่เพียงไม่นาน อนงค์ก็เสียชีวิต…เมธิสเป็นอิสระแล้ว แต่เธอเองต้องติดอยู่ในบ่วงที่ตัวเองสร้างขึ้นมา…

แต่ปางก่อน 2530

พ.ศ. 2490 “ราชาวดี” สาวน้อยวัย 17 ปี เมื่อจบการศึกษาแล้วก็ได้เดินทางมาที่โรงเรียนกุลนารี เพื่อสมัครเป็นครูตามความประสงค์ของมารดาที่ล่วงลับ ไปแล้ว “กาบทอง” อาจารย์ใหญ่ประจำโรงเรียนรับราชาวดีเข้าเป็นครูด้วยความเต็มใจ เพราะเธอกับแม่ของราชาวดีเคยรู้จักกันมาก่อน

นับแต่ก้าวแรกที่ ราชาวดีเหยียบย่างเข้ามาในเขตโรงเรียนซึ่งเป็นวังเก่าก็รู้สึกแปลก ๆ เพราะเหมือนมีใครตามเธออยู่ห่าง ๆ และยิ่ง “ถวิล” เพื่อนสนิทของเธอเล่าถึงความน่ากลัว ของเสด็จในกรมฯ และท่านชายรังสิธรผู้เป็นโอรสและเจ้าของวัง ซึ่งล่วงลับไปแล้ว ยิ่งทำให้ราชาวดีสนใจวังนี้มากขึ้นไปอีก คืนแรกที่ราชาวดีเข้าพัก เธอก็ได้ฝัน ถึงวังอันรโหฐาน และเพลงไทยเดิมที่ชื่อ “ลาวม่านแก้ว” อันแสนไพเราะ และชายหนุ่มที่เรียกเธอว่า “เจ้านางน้อย” แต่ไม่ทันได้เห็นหน้าผู้ชายคนนั้นราชาวดี ก็สะดุ้งตื่นเสียก่อน

ราชาวดี ต้องการหาคำตอบว่าสิ่งที่เธอฝันนั้นคืออะไร จึงแอบเข้าไปในวังซึ่งถูกทิ้งร้างมานานจนทรุดโทรม ที่นั่นราชาวดีได้พบกับ “จางวางจัน” ข้ารับใช้ ้เก่าแก่ของเสด็จในกรมฯ ราชาวดียิ่งแปลกใจมากขึ้น เมื่อจางวางจันเรียกเธอว่า “เจ้านางน้อย” เหมือนผู้ชายคนนั้นในฝันของเธอ

จางวาง จันชวน ราชาวดี ไปที่ ตำหนักริมน้ำแต่เธอปฏิเสธ ระหว่างเดินทางกลับราชาวดีรู้สึกเหมือนมีใครบางคนดึงดูดเธอให้ตามเขาไปโดย ไม่รู้ตัว ราชาวดีรู้สึกตัวอีกทีก็พบว่ายืนอยู่หน้าบ้าน สีขาว ราวบ้านในเทพนิยาย เธอรู้ทันทีว่านี่คือตำหนักริมน้ำที่จางวางจันชวนเธอมา กาบทองพาราชาวดีไป กราบหม่อม “พรรณราย” เจ้าของโรงเรียน ทำให้ได้ พบกับ “ม.ร.ว. จิรายุส” ลูกชายของหม่อมและ “สวรรยา” คู่หมั้น หม่อมพรรณรายประหลาดใจ ที่ราชาวดีหน้าตาเหมือนเจ้านางน้อยไม่มีผิดเพี้ยน เพราะตอนเด็กๆหม่อมเคยพบกับเจ้านางน้อย แต่ท่านก็ไม่ทราบรายละเอียดความเป็นมาของเจ้านางจากลาวผู้นี้มากนัก และดูเหมือนท่านจะไม่อยากพูดถึงเรื่องในอดีตนี้ด้วย

ราชาวดีหาโอกาส ปลีกตัว ไปที่ตำหนักริมน้ำบ่อยครั้ง จนได้พบกับผู้ชายผู้เป็นเจ้าของตำหนัก เธอรู้สึกสนิทคุ้นเคยเหมือนรู้จักกันมานาน ชายคนนั้นให้ราชาวดี ดูรูปเจ้านางน้อยที่อยู่ใน ตำหนัก ทำให้ราชาวดีถึงกับหมดสติไป เพราะภาพที่เห็นช่างเหมือนตัวเธอราวคน ๆ เดียวกัน

เมื่อฟื้นจากสลบ ก็พบว่าตนเองได้เข้ามาอยู่ปี พ.ศ.2453 ในสภาพเจ้านางน้อย ราชาวดีได้พบกับท่านชายใหญ่หรือ “ท่านชายรังสิธร” ซึ่งนั่นก็ทำให้เธอ หมดสติไปอีกครั้ง เมื่อได้สติขึ้นมา คราวนี้ราชาวดีพบว่าตัวเองนอนสลบอยู่บนเตียง โดยมีบรรดาครูรุมล้อมด้วยความห่วงใย

ถวิลเล่าให้ราชาวดีฟังว่า จางวางจัน พบเธอนอนสลบอยู่ในสวนหน้าวัง ราชาวดีสารภาพว่าเธอแอบเข้าไปที่ตำหนักริมน้ำ ราชาวดีได้พบวิญญาณท่านชายใหญ่อีกครั้งในงานประจำปีของโรงเรียน โดยเธอได้บรรเลงไวโอลินเพลง “ลาวม่านแก้ว” ทำให้ท่านหญิงวิไลเรขา ป้าแท้ๆ ของจิรายุส ขวัญผวา เพราะก่อนหน้านั้นวิไลเรขาเคยเป็นคู่หมั้นของท่านชาย ใหญ่ตามความเห็นชอบของผู้ใหญ่

แต่ท้ายที่สุดท่านชายใหญ่ก็ขอถอน หมั้นกับเธอ แล้วไปแต่งงานกับเจ้านางน้อย ส่วนเพลง “ลาวม่านแก้ว” เป็นเพลงที่ท่าน ชายใหญ่แต่งให้เจ้านางน้อย และถูกนำมาบรรเลงในวันแต่งงาน

วิไลเรขาเกลียดราชาวดีเพราะคิดว่าเป็นเจ้านางน้อยกลับชาติมาเกิดเพื่อจองเวรกับเธอ
ดัง นั้นวิไลเรขาจึงแกล้งให้ราชาวดีมาอยู่รับใช้ช่วงปิดเทอม ราชาวดีถูกวางยาให้ป่วยทีละน้อย เหมือนที่วิไลเรขาเคยทำกับเจ้านางน้อยในอดีต

จิรายุสนำตัวราชาวดี ส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ซึ่งก็ทำให้วิไลเรขาโกรธมากจนป่วยหนัก ก่อนที่วิไลเรขาจะสิ้นลมเธอได้บังคับให้จิรายุสเต่งงานกับสวรรยา และหลังการแต่งงาน ทั้งคู่เกิดการทะเลาะกันใหญ่โตสวรรยา ทวงทุกสิ่งทุกอย่างจากชายหนุ่ม

หม่อมพรรณรายได้ยินทุกอย่างทำใจรับ ไม่ได้ท่านหัวใจวายทันที่แต่ก็ยังทันเห็นหน้าหลานชายคนเดียวก่อนเสีย จิรายุสเสียใจมากเพราะทั้งชีวิตเขาเหลือเพียงแม่คนเดียว เขาหย่าขาดจากสรรยาโดยเลี้ยงลูกชายเพียงคนเดียว คือ “จิราคม” ราชาวดีตัดสินใจลาออกจากการเป็นครูแล้วกลับมาที่อุดรฯ โดยมี วิญญาณ ของท่านชายใหญ่ติดตามมาเป็นกำลังใจ กระทั่งคืนหนึ่งท่านชายได้มาบอกลาเธอ ราชาวดีเสียใจที่จะไม่ได้พบท่านชายแล้ว แต่ถ้าเป็นการ จากลาเพื่อ ได้พบกันใหม่ราชาวดีก็ยินดี จากนั้นเธอก็ตัดกิเลสทางโลกเข้าวัดบำเพ็ญกุศล ราชาวดีป่วยหนัก เมื่อถวิลไปเยี่ยมก็พบเพียงกาบทองมาเยี่ยมถวิลที่บ้านและได้พบกับอันตราก็ ถึงกับอึ้งไป เพราะอันตรามีหน้าตาเหมือนราชาวดีเหลือเกิน

อันตรา อาสามาส่งกาบทองที่บ้าน ทำให้เธอได้พบกับจิรายุส เมื่อจิรายุสได้พบอันตราก็รู้สึกเอ็นดู อันตราชอบตำหนักริมน้ำของจิรายุสมาก เธอพยายามขอ ซื้อแต่ ไม่สำเร็จ เพราะจิรายุสตั้งใจเก็บไว้มอบให้จิราคมในวันแต่งงาน อันตรามักจะไปที่ตำหนักริมน้ำบ่อย ๆ จนได้เจอจิราคม ทั้งคู่รู้สึกเหมือนมีกระแสไฟอ่อน ๆ แล่นพล่านไปทั้งตัว อันตราตกใจรีบหนีออกมา แต่ทั้งคู่ก็ต้องมาพบกันอีกครั้งในงานราตรี จิราคมเดี่ยวเปียโนเพลง “ลาวม่านแก้ว” ซึ่งอันตราโปรดปรานมาก เพราะแม่ของเธอเคยร้องให้ฟังตอนเธอเด็ก ๆ ความสัมพันธ์ของทั้งคู่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จิรายุสไปทาบทามอันตรามาเป็นสะใภ้ พร้อมกับเปรยว่า การรอคอยของท่านชายใหญ่ และเจ้านางน้อยสมควรจะจบสิ้นลงได้แล้ว อุปสรรคต่าง ๆ ได้ผ่านพ้นไป ทั้งคู่เข้าสู่พิธีวิวาห์ และสัญญาต่อกันว่าจะดูแลกันไปจนแก่เฒ่า ท่ามกลางบรรยากาศหวานละมุนของเสียงเปียโน เพลง “ลาวม่านแก้ว” ที่จิราคมเซอร์ไพรส์เจ้าสาวในวันแต่งงาน

ออกอากาศทางช่อง 3 ระหว่าง เดือนมกราคม ถึง วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2530

แต่ปางก่อน พ.ศ. 2530 นำแสดงโดย

ฉัตรชัย เปล่งพานิช  (รังสิธร, จิราคม)
จริยา สรณะคม (ม่านแก้ว, ราชาวดี, อันตรา)
นพพล โกมารชุน (จิรายุส)
ดวงตา ตุงคะมณี (วิไลเลขา)
อุทุมพร ศิลาพันธ์ (สวรรยา)